วันพุธที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

จำนวนเต็ม

ระบบจำนวนเต็ม

ระบบจานวนเต็ม
จํานวนเต็ม   แบงได้ 3 ประเภท
 1. จํานวนเต็มบวก คือ จำนวนที่มีค่ามากกว่าศูนย์ (ฝั่งขวาของเส้นจำนวน)
2. ศูนย์ คือ จำนวนที่ไม่เป็นทั้งบวกและลบ (อยู่ตรงกลางของเส้นจำนวน)
3. จํานวนเต็มลบ คือ จำนวนที่มีค่าน้อยกว่าศูนย์ (ฝั่งซ้ายของเส้นจำนวน)
 เส้นจำนวนแสดงความสัมพันธ์ ของจำนวนเต็ม (หัวลูกศรสามารลากไปได้เรื่อยๆ ไม่มีสิ้นสุด อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ จํานวนเต็ม

การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบนิรนัย


                การให้เหตุผลแบบนิรนัยเป็นวิธีการให้เหตุผลโดยสรุปผลจากข้อความซึ่งเป็นความจริงทั่วไปมาเป็นข้ออ้างเพื่อสนับสนุนให้เกิดข้อสรุปที่เป็นความรู้ใหม่ที่เป็นข้อสรุปส่วนย่อยข้อสรุปที่ได้จากการให้เหตุผล
 แบบนิรนัยนั้นจะเป็นข้อสรุปที่อยู่ในขอบเขตของเหตุเท่านั้นจะเป็นข้อสรุปที่กว้างหรือเกินกว่าเหตุไม่ได้การให้เหตุผลแบบนิรนัยประกอบด้วยข้อความ2กลุ่มโดยข้อความกลุ่มแรกเป็นข้อความที่เป็นเหตุ เหตุอาจมี อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การให้เหตุผลแบบนิรนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย

การให้เหตุผลแบบอุปนัย 

การให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) เกิดจากการที่มีสมมติฐานกรณีเฉพาะ หรือเหตุย่อยหลายๆ เหตุ เหตุย่อยแต่ละเหตุเป็นอิสระจากกัน มีความสำคัญเท่าๆ กัน และเหตุทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีเหตุใดเหตุหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นสมมติฐานกรณีทั่วไป หรือกล่าวได้ว่า การให้เหตุผลแบบอุปนัยคือการนำเหตุย่อยๆ แต่ละเหตุมารวมกัน เพื่อนำไปสู่ผลสรุปเป็นกรณีทั่วไป เช่นตัวอย่างการให้เหตุผลแบบอุปนัย อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การให้เหตุผลแบบอุปนัย

ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน

ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน

ยูเนียน อินเตอร์เซกชัน และคอมพลีเมนต์ของเซต เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำระหว่างเซต เรานิยมเขียนออกมาในสองรูปแบบด้วยกันคือแบบสมการ และแผนภาพเวนน์-ออยเลอร์ เราลองมาดูกันครับว่ายูเนียน อินเตอร์เซกชัน และคอมพลีเมนต์ของเซต เป็นอย่างไรพร้อมตัวอย่าง อ่านเพิ่มเติม
union

สับเซตและเพาเวอร์เซต

สับเซตและเพาเวอร์เซต

สับเซตและเพาเวอร์เซต เป็นหัวข้อหนึ่งจากบทเรียนเรื่อง เซต ในวิชาคณิตศาสตร์ ม.4 ซึ่งจะมีนิยาม และสมบัติของมัน เราลองมาเรียนกันครับว่าสับเซตและเพาเวอร์เซตเป็นอย่างไร
สับเซต (Subset)
ถ้าสมาชิกทุกตัวของ A เป็นสมาชิกของ B แล้ว จะเรียกว่า A เป็นสับเซตของ B จะเขียนว่า
เซต A เป็นสับเซตของเซต B แทนด้วย A B
 ถ้าสมาชิกบางตัวของ A ไม่เป็นสมาชิกของ B จะเรียกว่า A ไม่เป็นสับเซตของ B

เซต A ไม่เป็นสับเซตของเซต B แทนด้วย A B อ่านเพิ่มเติม
subset สับเซต

เซตว่าง และเอกภพสัมพัทธ์ (เซต) คณิตศาสตร์ ม.4

เซตว่าง และเอกภพสัมพัทธ์ (เซต) คณิตศาสตร์ ม.4

เซตว่าง และเอกภพสัมพัทธ์ จากบทเรียนเรื่องเซต คณิตศาสตร์ ม.4 ถือเป็นพื้นฐานของเรื่องเซต ที่เราควรจะทำความสนิทสนมกับมันให้มาก เพราะมันเป็นพื้นฐานทั้งหมดในการเรียนเรื่องเซต
เซตว่าง (Empty Set)
เซตว่าง คือ เซตที่ไม่มีสมาชิก หรือมีจำนวนสมาชิกในเซตเป็นศูนย์ สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ {} หรือ Ø
ตัวอย่างเช่น
 A = {x | x เป็นจำนวนเต็ม และ 1 < x < 2} A = Ø
 B = { x | x เป็นจำนวนเต็มบวก และ x + 1 = 0 } B = Ø
 เนื่องจากเราสามารถบอกจำนวนสมาชิกของเซตว่างได้ ดังนั้น เซตว่างเป็นเซตจำกัด  อ่านเพิ่มเติม
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เอกภพสัมพัทธ์

เซต

เซต 

เซต  เป็นคำที่ใช้บ่งบอกถึงกลุ่มของสิ่งต่างๆ และเมื่อกล่าวถึงกลุ่มใดแน่นอนว่าสิ่งใดอยู่ในกลุ่ม สิ่งใดไม่อยู่ในกลุ่ม เช่นเซตสระในภาษาอังกฤษ  หมายถึง  กลุ่มของอังกฤษ  a, e, i, o และ uเซตของจำนวนนับที่น้อยกว่า 10 หมายถึง  กลุ่มตัวเลข 1,2,3,4,5,6,7,8,และ  สิ่งที่ในเชตเรียกว่า  สมาชิก  ( element หรือ members )  อ่านเพิ่มเติม 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เซต